ขยายระยะเวลาดัดแปลงอาคารเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม ข่าวดีที่อาจจบแบบร้าย ๆ (ถ้ายัง Slow life)

ประกาศนี้เชื่อว่าอาจจะเป็นข่าวดี สำหรับเจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจที่พักประเภท HOSTEL ที่กำลังอยู่ใน Trend สำหรับการท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน และโดยส่วนมากโรงแรมประเภทดังกล่าว มักเป็นการก่อสร้างประเภทดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารเก่า ด้วยเหตุผลของทำเลที่ต้องการตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ในด้านการเดินทางที่สะดวกและใกล้ชิดแหล่งท่องเที่ยว ข่าวนี้อาจจะทำให้ผู้ประกอบการหายใจหายคอได้คล่องขึ้น เมื่อรัฐบาลได้มีการประกาศขยายเวลา ในการยื่นขอรับใบอนุญาตดัดแปลงหรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรม จากเดิมที่ให้ยื่นคำขออนุญาตฯภายในปี 2561 เปลี่ยนาเป็นกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตฯ ภายในปี 2566 (ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ประกอบการต้องจัดการให้ได้รับใบอนุญาตฯภายในปีที่กำหนด ซึ่งตรงนี้อาจจกลายเป็นข่าวร้ายในอนาคต สำหรับผู้ประกอบการที่ยังแอบใจเย็น Slow Life แล้วไปยื่นคำขอฯ ในตอนท้ายๆ ที่คงต้องลุ้นกันแทบไม่ได้หายใจกันเลยทีเดียว- -และสุดท้ายอาจจะต้องสิ้นใจตอนจบ ถ้าเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการยื่นคำขอ และใบอนุญาตฯ ออกไม่ทันภายในปี 2566) โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการรควบคุมอาคารออก “กฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เพื่อขยายระยะเวลาให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารประเภทอื่น มีระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคาร หรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ คือถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2566

เดิมตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 นั้นกำหนดให้ในกรณีมีการดัดแปลงอาคารก่อนการขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ ภายใน 18 ส.ค. 2561 การแก้ไขโดยกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ดังกล่าว ทำให้อาคารที่จะต้องมีการดัดแปลงอาคาร ได้รับการขยายระยะเวลาในการดำเนินการออกไปอีก 3 ปี กล่าวคือต้องได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารหรือได้รับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรม แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 นอกเหนือจากนั้น ยังได้ปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดในการดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารให้หย่อนลงกว่าเดิม สรุปได้คือ

  1. เดิม หากเป็นอาคารสามชั้นขึ้นไปต้องมีเสา คาน ตง พื้น บันได โครงหลังคา และผนังของอาคารทำด้วยวัสดุทนไฟ แก้ไขเป็น อาคารตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป
  2.  สำหรับอาคารสามชั้น หากมีเสา คาน ตง พื้น บันได โครงหลังคา และผนังของอาคารที่ทำด้วยวัสดุไม่ทนไฟ ให้สามารถดัดแปลงและหรือเปลี่ยนการใช้มาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ แต่จะต้องติดตั้งระบบความปลอดภัย ด้านอัคคีภัยเพิ่มเติมทุกชั้นเป็นการทดแทน ได้แก่ ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ระบบไฟส่องสว่างสำรอง ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (ดูรายละเอียดในกฎกระทรวง)

architect, architecture, design, construction, construction consultant, 3D animation, perspective, บริษัทรับเหมาก่อสร้าง, บริษัทออกแบบก่อสร้าง, ออกแบบก่อสร้าง, รับเหมาก่อสร้าง, รับเหมาก่อสร้างครบวงจร, งานเตรียมการก่อสร้าง, ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ เสมือนจริง, ออกแบบเพื่อการก่อสร้าง, ภาพ3มิติเคลื่อนไหว, ภาพ 3 มิติ เคลื่อนไหว, เทคโนโลยีการก่อสร้าง, ข่าวการก่อสร้าง, drone, โดรน, AR KIT, AR, ภาพเสมือนจริง, ออกแบบร่างโครงการ, สำรวจเพื่องานออกแบบ, สำรวจภาพถ่ายทางอากาศ, สำรวจภาพถ่ายทางอากาศ, 3D architect, 3D architecture, บริการสำรวจ, งานตรวจสอบอาคาร, สถาปนิก, สถาปัตย์, สถาปัตยกรรม, ออกแบบ, ออกแบบก่อสร้าง, ที่ดิน, ขนาดที่ดิน, งบประมาณการก่อสร้าง, วิศวกร, อาคาร, อาคารพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้า, คอนโด, โรงแรม, ลานจอดรถ, อาคารจอดรถ, โรงงาน, คลังสินค้า, แบบแปลน, เสาเข็ม, โครงหลังคา, วัสดุ, 3D Perspective, สำนักงาน, อาคารสาธารณะ, บ้าน, ที่อยู่อาศัย, ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม, ศึกษาโครงการเบื้องต้น, ออกแบบระบบอาคาร, รับเหมาก่อสร้างทั่วประเทศ, กรุงเทพ, ประเทศไทย